เมนู

บทว่า สติวินัยํ มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รื้อสติวินัยอัน
สงฆ์ให้แล้วแก่พระขีณาสพ.
ในอมูฬหวินัย ที่สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุผู้บ้าก็ดี ในตัสสปาปิยสิกาอันสงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่นก็ดี มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า ติณวตฺถารกํ อุกฺโกถเฏติ มีความว่า เมื่ออธิกรณ์อัน
สงฆ์ระงับแล้ว ด้วยติณวัตถารกสมถะ ธรรมดาอาบัติ ที่ภิกษุเข้าไปหาภิกษุ
รูปหนึ่งนั่งกระโหย่งประณมมือแสดงเสีย ชื่อว่าย่อมออก.
ก็ภิกษุแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการออกจากอาบัติ แม้ของภิกษุผู้
หลับอยู่ นี้ใด การออกจากอาบัตินั่น ไม่ชอบใจข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่ารื้อติณ-
วัตถารกะ. คงเป็นปาจิตตีย์ แม้แก่ภิกษุนั้น.

[ว่าด้วยองค์ 4 เป็นเหตุรื้ออธิกรณ์]


หลายบทว่า ฉนฺทาคตึ ฯ เป ฯ คจฺฉนฺโต อธิกรณํ อุกฺโกเฏติ
มีความว่า ภิกษุเป็นพระวินัยธร เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิ-
กรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยอาการรื้อ 12 อย่าง ๆ ใดอย่าง
หนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ชนที่รักมีอุปัชฌาย์เป็นต้นของตน ชื่อว่าถึงฉันทาคติ
รื้ออธิกรณ์.
ก็ในภิกษุผู้เป็นข้าศึกกัน 2 รูป ภิกษุผู้มีอาฆาตในฝ่ายหนึ่งเกิดขึ้นโดย
นัยเป็นต้นว่า เขาได้ประพฤติความฉิบหายแก่เรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม
เป็นต้น รื้ออธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยเสร็จแล้วในกาลก่อน ด้วยการรื้อ 12 อย่าง ๆ
ใดอย่างหนึ่ง เพื่อยกความแพ้ให้แก่ภิกษุผู้เป็นข้าศึกนั้น ชื่อว่าถึงโทสาคติ รื้อ
อธิกรณ์.